อาหารภาคใต้



                    อาหารพื้นบ้านภาคใต้มีรสชาติโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ สืบเนื่องจากดินแดนภาคใต้เคยเป็นศูนย์กลางการเดินเรือค้าขายของพ่อค้าจากอินเดีย จีนและชวาในอดีต ทำให้วัฒนธรรมของชาวต่างชาติโดยเฉพาะอินเดียใต้ เป็นต้นตำรับในการใช้เครื่องเทศปรุงอาหารได้เข้ามามีอิทธิพลอย่างมาก


             อาหารพื้นบ้านภาคใต้ทั่วไป มีลักษณะผสมผสานระหว่างอาหารไทยพื้นบ้านกับอาหารอินเดียใต้ เช่น น้ำบูดู ซึ่งได้มาจากการหมักปลาทะเลสดผสมกับเม็ดเกลือ และมีความคล้ายคลึงกับอาหารมาเลเซีย อาหารของภาคใต้จึงมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่นๆ และด้วยสภาพภูมิศาสตร์อยู่ติดทะเลทั้งสองด้านมีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์ แต่สภาพอากาศร้อนชื้น ฝนตกตลอดปี อาหารประเภทแกงและเครื่องจิ้มจึงมีรสจัด ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ป้องกันการเจ็บป่วยได้อีกด้วย


              เนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงเป็นอาหารส่วนมากนิยมสัตว์ทะเล เช่น ปลากระบอก ปลาทู ปูทะเล กุ้ง หอย ซึ่งหาได้ในท้องถิ่น อาหารพื้นบ้านของภาคใต้ เช่น แกงเหลือง แกงไตปลา นิยมใส่ขมิ้นปรุงอาหารเพื่อแก้รสคาว เครื่องจิ้มคือน้ำบูดู
              อาหารของภาคใต้จะมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่นๆ แกงที่มีชื่อเสียงของภาคใต้ คือ แกงเหลือง แกงไตปลา เครื่องจิ้มก็คือ น้ำบูดู และชาวใต้ยังนิยมนำน้ำบูดูมาคลุกข้าวเรียกว่า "ข้าวยำ" มีรสเค็มนำและมีผักสดหลายชนิดประกอบ อาหารทะเลสดของภาคใต้มีมากมาย ได้แก่ ปลาหอยนางรม และกุ้งมังกร เป็นต้น        
             อาหารของภาคใต้จะมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่นๆ แกงที่มีชื่อเสียงของภาคใต้ คือ แกงเหลือง แกงไตปลา เครื่องจิ้มก็คือน้ำบูดูและชาวใต้ยังนิยมนำน้ำบูดูมาคลุกข้าวเรียกว่า"ข้าวยำ"มีรสเค็มนำและมีผักสดหลายชนิดประกอบ อาหารทะเลสดของภาคใต้มีมากมาย ได้แก่ ปลาหอยนางรม และกุ้งมังกร เป็นต้น




           เม็ดเหรียง เป็นคำเรียกของคนภาคใต้ มีลักษณะคล้ายถั่วงอกหัวโต แต่หัวและหางใหญ่กว่ามาก สีเขียว เวลาจะรับประทานต้องแกะเปลือกซึ่งเป็นสีดำออกก่อน จะนำไปรับประทานสดๆ หรือนำไปผัดกับเนื้อสัตว์  หรือนำไปดองรับประทานกับแกงต่างๆ หรือกับน้ำพริกกะปิ หรือ กับหลนก็ได้


         ลูกเนียง  มีลักษณะกลม เปลือกแข็งสีเขียวคล้ำเกือบดำ ต้องแกะเปลือกนอก แล้วรับประทานเนื้อใน ซึ่งมีเปลือกอ่อนหุ้มอยู่ เปลือกอ่อนนี้จะลอกออกหรือไม่ลอกก็ได้แล้วแต่ความชอบ ใช้รับประทานสดๆ กับน้ำพริกกะปิ หลนแกงเผ็ด โดยเฉพาะแกงไตปลา ลูกเนียงที่แก่จัดใช้ทำเป็นของหวานได้ โดยนำไปต้มให้สุกแล้วใส่มะพร้าวทึนทึกขูดฝอย และน้ำตาลทรายคลุกให้เข้ากัน



       

         ฝักสะตอ มีลักษณะเป็นฝักยาว สีเขียว เวลารับประทานต้องปอกเปลือกแล้วแกะเม็ดออก ใช้ทั้งเม็ดหรือนำมาหั่น ปรุงอาหารโดยใช้ผัดกับเนื้อสัตว์หรือใส่ในแกง นอกจากนี้ยังใช้ต้มกะทิรวมกับผักอื่นๆ หรือใช้เผาทั้งเปลือกให้สุก แล้วแกะเม็ดออกรับประทานกับน้ำพริก หรือจะใช้สดๆ โดยไม่ต้องเผาก็ได้ ถ้าต้องการเก็บไว้นานๆ ควรดองเก็บไว้



อาหารพื้นบ้านภาคใต้ที่มีชื่อเสียง


แกงไตปลาน้ำข้น

      ชีวิตของคนภาคใต้เกี่ยวข้องกับท้องทะเล อาหารการกินส่วนใหญ่มาจากทะเล ซึงถ้ามีมากเกินรับประทานก็จะนำอาหารที่ได้จากทะเลนั้นมาทำการถนอมอาหารไตปลา หรือพุงปลาได้จากการนำพุงปลาทูมารีดเอาไส้ในออก ล้างพุงปลาให้สะอาดแล้วใส่เกลือหมักไว้ประมาณ 1 เดือนขึ้นไป หลังจากนั้นจึงจะนำมาปรุงอาหารได้ แกงไตปลามีรสจัด จึงต้องรับประทานร่วมกับผักหลาย ๆ ชนิดควบคู่กันไปด้วย เพื่อช่วยลดความเผ็ดร้อนลง ซึ่งคนภาคใต้เรียกว่า ผักเหนาะ ผักเหนาะของภาคใต้มีหลายอย่าง เช่น สะตอ ลูกเนียง ยอดมะม่วงหิมพานต์ ผักบางอย่างก็เป็นผักชนิดเดียวกับภาคกลาง เช่น ถั่วพู ถั่วฝักยาว มะเขือเปราะ แตงกวา หน่อไม้


 

         แกงส้มออกดิบ มีส่วนประกอบของเครื่องปรุงส่วนใหญ่ออกไปทางรสเผ็ดร้อน เปรี้ยว สรรพคุณช่วยในการขับลม ช่วยให้เจริญอาหาร มะนาวและส้มแขกมีรสเปรี้ยว สรรพคุณช่วยแก้ไอ ขับเสมหะและมีวิตามินซีสูง



วิธีทำ
1. นำหอม กระเทียมมาโขลกรวมกันกับกะปิให้ ละเอียด ตักมาพักไว้ก่อน
2. กระทะตั้งไฟใส่น้ำมันพืชลงไปพอสมควร
3. ใส่หอมกระเทียมและกะปิที่โขลกลงไปผัดใน กระทะให้หอม แล้ว จึงใส่หมูที่หั่นแล้วลงไปผัดให้เข้ากัน
4. แล้วใส่เม็ดสะตอที่แกะเตรียมเอาไว ผัดรวม กันในกระทะ
5. ใส่น้ำปลา น้ำตาล และ น้ำมะนาว ปรุงรส และผัดให้พอสะตอสุก
6. ก่อนยกลง ให้ใส่พริกชี้ฟ้าหั่นยาวลงไปและ ตักไปรับประทานได้


ข้าวยำ



     ข้าวยำปักษ์ใต้ เป็นอาหารที่เชื่อว่าทุกคนต้องเคยลิ้มลองกันมาบ้างแล้ว เพราะเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อของชาวใต้จนดูเหมือนจะกลายเป็นสัญลักษณ์อาหารปักษ์ใต้อีกเมนูหนึ่ง
     ข้าวยำของชาวใต้ จะอร่อยหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับน้ำบูดูเป็นสำคัญ น้ำบูดูมีรสเค็ม แหล่งที่มีการทำน้ำบูดูมากคือจังหวัดยะลาและปัตตานี เวลานำมาใส่ข้าวยำต้องเอาน้ำบูดูมาปรุงรสก่อน จะออกรสหวานเล็กน้อยแล้วแต่ความชอบ น้ำบูดูของชาวใต้มีกลิ่นคาวของปลาเพราะทำมาจากปลา กลิ่นคล้ายของทางภาคอีสาน แต่กลิ่นน้ำบูดูจะรุนแรงน้อยกว่าเนื่องจากน้ำบูดูมีรสเค็ม ชาวใต้จึงนำมาใส่อาหารแทนน้ำปลา

 วิธีทำ
1. ทำน้ำบูดูโดยการต้มปลาอินทรีย์จนเปื่อย แกะเอาแต่เนื้อใส่หม้อ เติมน้ำบูดู น้ำ แล้วตั้งไฟ
2. ใส่หอม ตะไคร้ ข่า ใบมะกรูดฉีก น้ำตาลปี๊บ ต้มต่อจนน้ำบูดูข้น ชิมให้รสเค็มนำหวานยกลง
3. จัดเสริ์ฟโดยตักข้าวใส่จาน ใส่มะพร้าวคั่ว กุ้งแห้งป่น และผักทั้งหมดใส่อย่างละน้อยพอคลุกรวมกันแล้วจะมากยิ่งขึ้น ราดน้ำบูดู ปรุงรสด้วยน้ำมะนาว เคล้าให้เข้ากันดีรับประทานได้
ประโยชน์ทางอาหาร
      ข้าวยำปักษ์ใต้ที่ปรุงสำเร็จแล้วจะออกรสหลายรสด้วยกัน ได้แก่ รสมันของมะพร้าวรสเปรี้ยวจากมะม่วงดิบและน้ำมะนาว รสเค็มหวานจากน้ำบูดู รสเผ็ดของพริกป่น เรียกว่าเป็นอาหารที่บำรุงธาตุก็ไม่ผิดนัก

น้ำพริกระกำ

น้ำพริกระกำนับเป็นอาหารที่นิยมอย่างหนึ่งในช่วงฤดูร้อน ขณะที่มะนาวขาดแคลน ระกำซึ่งเป็นผลไม้พื้นเมืองก็ออกผล คนใต้จึงนิยมประยุกต์ใช้รสเปรี้ยวจากระกำแทนมะนาว นำมาทำน้ำพริกรับประทานกับผักต่าง  น้ำพริกระกำจะมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะนอกจากจะมีรสชาติเปรี้ยวเค็มหวานอย่างกลมกล่อมแล้ว ยังมีกลิ่นหอมของระกำเจืออยู่ด้วย คนใต้นิยมรับประทานคู่กับลูกเนียงซึ่งมีกลิ่นฉุน เมื่อรับประทานคู่กันยิ่งทำให้เพิ่มรสชาติในการรับประทานยิ่งขึ้น นับเป็นของคู่กันเลยทีเดียว 

วิธีทำ
1. ใช้ใบตองห่อกะปิย่างไฟให้หอม
2. โขลกกะปิ กระเทียม กุ้งแห้ง พริกขี้หนู น้ำตาลทราย
3. ใส่ระกำ โขลกให้เข้ากัน
4. เสริ์ฟพร้อมผักเหนาะ เช่น ถั่วฝักยาวสะตอกระถิน เป็นต้น
ประโยชน์ทางอาหาร
   น้ำพริกระกำ เป็นน้ำพริกที่เพิ่มรสชาติของผักเหนาะให้รับประทานได้มากยิ่งขึ้น การรับประทานผักมาก  และหลายชนิด ช่วยให้ร่างกายได้คุณค่าทางอาหารรวมตลอดถึงวิตามินครบถ้วน

ไก่ต้มขมิ้น

วิธีทำ
1. ล้างไก่ให้สะอาด แล้วสับชิ้นพอคำ
2. ทุบตะไคร้ให้แตก หั่นเป็นท่อน 2-3 นิ้ว ทุบข่า ขมิ้น แล้วบุบหอมแดง กระเทียม
3. เอาน้ำ 4 ถ้วยใส่หม้อตั้งไฟ พอเดือด ใส่เครื่องที่เตรียมไว้ (ข้อ 2) ต้มสักพักจนเครื่องหอม ใส่ส้มแขก
4. ใส่ไก่ต้มจนสุก ใส่เกลือ น้ำตาล ปรุงรสตามชอบ ยกลง
หมายเหตุ ควรให้มีรสเปรี้ยว โดยใช้ส้มแขก หากไม่มีส้มแขกสามารถใช้ส้มมะขามแทนได้
ประโยชน์ทางอาหาร
   ไก่ต้มขมิ้น เป็นอาหารที่มีรสเปรี้ยวนำ เหมาะสำหรับคนธาตุน้ำ เป็นหวัดเรื้อรัง รับประทานเผ็ด  แก้ไอ ขับเสมหะ เพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย


ผัดสะตอใส่กะปิ

อาหารประจำภาคใต้ที่ปรุงรสจากผักพื้นบ้านที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ สะตอ ซึ่งไม่เพียงแต่คนภาคใต้เท่านั้นที่จะชอบรับประทาน สะตอยังเป็นที่ชื่นชอบของคนทั่วไปด้วย

วิธีทำ
1. โขลกกระเทียม หอมแดง กะปิ ให้ละเอียด
2. ล้างหมูให้สะอาด หั่นชิ้นพอคำ
3. ล้างกุ้งชีแฮ้ตัดหัวออกปอกเปลือกไว้หาง ผ่าหลัง ชักเส้นดำออก
4. ตั้งกะทะใส่น้ำมัน ใส่เครื่องที่โขลก ผัดให้หอม ใส่หมู กุ้ง แล้วใส่สะตอ
5. ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาล น้ำมะนาว ผัดพอสุกทั่ว ใส่พริกชี้ฟ้า ยกลง

  • ประโยชน์ทางอาหาร
   อาหารที่ปรุงจากสะตอ จะมีรสชาติช่วยให้รับประทานอาหารได้มากขึ้น และบำรุงเส้นเอ็น เครื่องปรุงต่าง  ช่วยกระตุ้นให้เจริญอาหาร

แกงหมูกับลูกเหรียง
เหรียง เป็นผักพื้นบ้านของภาคใต้ เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นสูงใหญ่ ชาวใต้นิยมนำเมล็ดเหรียงมาเป็นอาหาร โดยจะนำเมล็ดมาเพาะให้แตกรากสั้น  คล้ายถั่งงอก แต่หัวจะโตกว่าถั่วงอก มีสีเขียว เรียกว่าลูกเหรียง มีรสมัน กลิ่นฉุน นำไปประกอบอาหารได้หลายชนิดทั้งเป็นผักสดรับประทานกับน้ำพริก นำมาดองหรือแกงเป็นอาหาร

 วิธีทำ

1. โขลกเครื่องแกงทั้งหมดรวมกันให้ละเอียด
2. คั้นมะพร้าว แยกหัวกะทิไว้ 1 ถ้วย
3. เอาหางกะทิตั้งไฟ พอเดือดใส่เครื่องแกง พอน้ำเข้าเครื่อง ใส่เนื้อหมู น้ำปลา น้ำตาลปี๊บ ต้มจนหมูสุก ใส่ลูกเหรียง ใส่หัวกะทิ ตั้งไฟต่ออีกสักครู่ ปิดไฟ ยกลง
4. เสริ์ฟพร้อมผักเหนาะ
ผักเหนาะ ประกอบด้วยสะตอ ลูกเนียง ยอดชะอม ถั่วฝักยาว ยอดมะม่วงหิมพานต์ ถั่วพูแตงกวา หน่อไม้

  • ประโยชน์ทางอาหาร
           แกงหมูกับลูกเหรียงมีส่วนประกอบของเครื่องปรุงส่วนใหญ่ออกไปทางเผ็ดร้อน ซึ่งเป็นที่นิยมของคนใต้ สรรพคุณจึงช่วยในการขับลม และช่วยให้เจริญอาหารได้ดี

ลูกปลาคั่วเกลือ



                  เนื่อง จากชีวิตของคนภาคใต้ผูกพันอยู่กับทะเล เมื่ออกทะเลหาอาหารมาได้มากเกินกว่าจะรับประทานให้หมดในหนึ่งมื้อ คนภาคใต้จึงนำอาหารที่ได้จากทะเลมาทำการถนอมอาหารโดยการหมักกับเกลือ หรือตากแห้งเพื่อเก็บไว้รับประทานได้นาน 
                   ลูกปลาคั่วเกลือเป็นอาหารปลาประเภทหนึ่งที่นิยมรับประทานกันโดยใช้ลูกปลาเล็กปลาน้อยที่หาได้จากทะเล นำมาผสมเครื่องปรุงและคั่วเกลือจนแห้ง ลูกปลาที่นิยมนำมาคั่วคือลูกปลากะตักหรือลูกปลาไส้ตัน

วิธีทำ
1. ล้างปลาให้สะอาด เอาส่วนหัวออก ควักไส้ทิ้ง
2. ทุบตะไคร้ ขมิ้นชัน ทุบหอมแดงและกระเทียม
3. เอาน้ำ ½ ถ้วยใส่กะทะตั้งไฟ พอน้ำเดือดใส่ตะไคร้ หอมแดง กระเทียม ขมิ้นชัน สักครู่จึงใส่เกลือ
4. พอน้ำเดือดใส่ลูกปลา คั่วเบา  จนน้ำแห้งปลาสุก ปิดไฟ ยกลง รับประทาน
หมายเหตุ ลูกปลา หมายถึง ปลาน้ำจืดตัวเล็ก  หรืออาจใช้ปลาไส้ตันก็ได้

  • ประโยชน์ทางอาหาร
           ลูกปลาคั่วเกลือ เป็นอาหารที่ให้แคลเซียมสูงมาก จากปลาเล็กปลาน้อยผสมรวมกับเครื่องปรุงก็จะช่วยเพิ่มรสชาติ กระตุ้นให้เจริญอาหารได้ดี



ปลากระบอกต้มส้ม
  

วิธีทำ
1.ล้างปลาให้สะอาด ควักไส้ทิ้ง
2.เอาน้ำ 2 ถ้วยตั้งไฟ พอเดือดใส่ตะไคร้ หอมแดง กระเทียม ขมิ้น
3.พอเดือดอีกครั้งใส่น้ำส้ม เกลือ แล้วจึงใส่ปลา
4.พอปลาสุกดีแล้วจึงปิดไฟ ยก


ไก่กอแหละ



วิธีทำ
1. คั้นมะพร้าวใส่น้ำ 2-2ครึ่ง ถ้วย คั้นให้ได้ 5-6 ถ้วย
2. ล้างไก่ หั่นเป็นชิ้นใหญ่ๆ ตัวหนึ่งประมาณ 10-12 ชิ้น ทอดด้วยเนย และน้ำมัน พอเหลืองตักไก่ใส่กะทิ ตั้งไฟกลาง พอเดือดลดไฟลง เคี่ยวไฟอ่อนๆ
3. เอาเครื่องแกงลงผัดในน้ำมันที่เหลือจากการทอดไก่ แล้วใส่ลงในหม้อไก่ ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำมะนาว น้ำตาล ให้ได้รสตามชอบ พอไก่เปื่อย ยกลง จัดเสิร์ฟ โรยพริกชี้ฟ้าแดง ให้สวยงาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น