อาหารภาคอิสาน

ภาคอิสาน



คนอีสานจะทำปลาร้ารับประทานในบ้าน ไม่นิยมซื้อ เมื่อสมาชิกในบ้านออกหาปลา จับกบ ซึ่งอาจจะได้ปลามาก เหลือรับประทานก็จะทำปลาร้า ปลาตากแห้ง เป็นการถนอมอาหารไว้รับประทานในมื้ออื่น ๆ ปลาร้าเป็นเครื่องปรุงรส ในอาหารอีสานเกือบทุกชนิด ใช้ใส่ผสมได้ทั้งแกง หมก อ่อม น้ำพริกต่าง ๆ แต่ไม่นิยมใส่ในอาหารประเภทผัด
·       ข้าวเบือ
             คือการนำข้าวเหนียวมาแช่น้ำไว้สักพักใหญ่ ให้เมล็ดข้าวเหนียวอ่อนนุ่ม สงให้สะเด็ดน้ำ แล้วนำมาโขลกให้ ละเอียด ใช้ในอาหารหลายอย่าง เช่น หมกหน่อไม้ แกงย่านาง แกงอ่อม ข้าวเบือจะช่วยให้อาหารหนืดเหนียวน่ารับประทาน
·       ข้าวคั่ว
             คือการนำข้าวเหนียวข้าวสาร และควรเป็นข้าวสารใหม่ คั่วในกระทะ ใช้ไฟอ่อน คั่วให้ทั่ว พลิกไปมาจนข้าวเหนียว มีสีเหลืองอ่อน และมีกลิ่นหอม ตักขึ้น พักไว้ให้เย็น จึงนำมาโขลกให้ละเอียด ใช้กับอาหารหลายอย่าง เช่น ลาบ น้ำตก ข้าวคั่วช่วยให้อาหารมีกลิ่นหอม ชวนรับประทาน และทำให้น้ำในอาหารข้นขึ้น ข้าวคั่วไม่นิยมทำเก็บไว้นาน ๆ เพราะนอก จากจะไม่มีกลิ่นหอมแล้ว ยังอาจทำให้รสชาติของอาหารนั้นด้อยลงไปอีก
·       พริกป่น
             คือการนำพริกขี้หนูหรือพริกทางภาคอีสาน ซึ่งจะมีรสเผ็ดมาก ตากแห้ง แล้วคั่วในกระทะโดยใช้ไฟอ่อนให้หอมฉุน ตักขึ้นพักไว้ให้เย็น แล้วโขลกให้ละเอียด พริกป่นเป็นเครื่องปรุงรสอีกชนิดหนึ่งที่ใช้กันมาก เพราะคนอีสานรับประทานรส เผ็ดจัด เค็มจัด พริกป่นใช้กับอาหารทุกชนิด

  • ·       ผักติ้วหรือผักแต้ว



จะมีรสเปรี้ยว รับประทานกับลาบ จิ้มน้ำพริก รับประทานกับอาหารที่มีรสเผ็ด

  •                 ยอดจิก

คล้ายใบหูกวาง รับประทานกับลาบ

     
  •             ผักแว่น
ขึ้นอยู่ในน้ำ รับประทานกับลาบ ก้อย น้ำพริก


  •       ผักแขยง
                  ใช้ใส่แกง ดับกลิ่นคาว แกงปลา กินกับส้มตำ

  •       ผักเม็ก
มีรสเปรี้ยว รับประทานกับลาบ ก้อย

  •             ผักแพว


ต้นและใบมีกลิ่นหอม ใบอ่อนและกิ่งรับประทานกับลาบ ก้อย


  •        หน่อไม้รวก
คือ หน่อไม้ที่ขึ้นตามป่าเขา นำมาเผา แล้วจึงนำไปประกอบอาหาร

  •    เห็ดป่าต่าง ๆ

    นิยมนำมาแกง หมก
          

                              
                                            
    ตัวอย่างอาหารภาคอีสาน


อ่อมปลาดุก


 วิธีทำ
1. ล้างปลาดุกให้สะอาดหั่นเป็นชิ้น
2. เอาน้ำ 2 ถ้วย ตั้งไฟจนเดือด ใส่ปลาลงต้ม เติมน้ำปลาร้า
3. โขลกหอมแดง พริกสด และข้าวเหนียวที่แช่น้ำให้ละเอียด ตักใส่หม้อต้มปลา ปรุงรสด้วยน้ำปลา 4.เมื่อปลาสุก ใส่มะเขือเปราะผ่าซีก ตะไคร้หั่นท่อนสั้น มะเขือพวง ใบชะพลู ใบแมงลัก ต้นหอมหั่น ปิดไฟ ยกลง รับประทานกับผักชีลาว

เนื้อทุบ



 วิธีทำ
1. แล่เนื้อออกตามยาว หมักกับเกลือ น้ำปลา พริกไทยป่น น้ำตาลปี๊บ หมักทิ้งไว้ประมาณครึ่งวัน ตากแดด 1 วัน
2. นำเนื้อไปย่างจนสุก แล้วทุบเนื้อให้แตกยุ่ยจากกัน


เนื้อน้ำตก


วิธีทำ
1. ล้างเนื้อ แล่หนาประมาณ 1 เซนติเมตร เคล้ากับซีอิ้วขาว หมักไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง
2. ย่างเนื้อบนเตาถ่านใช้ไฟแรง เนื้อจะสุกด้านนอก พลิกไปมาทั้ง 2 ข้าง พอน้ำตกส่งกลิ่นหอม ยกลง
3. หั่นเนื้อแฉลบ เป็นชิ้นพอคำ เคล้ากับน้ำปลา น้ำมะนาว ใส่พริกป่น ข้าวคั่ว หอมแดง โรยใบสะระแหน่ รับประทานกับผักบุ้ง ถั่วฝักยาว กะหล่ำปลี


เนื้อแดดเดียว


วิธีทำ
1. ล้างเนื้อให้สะอาด แล่ออกเป็นแผ่นหนา ประมาณ 1 ซ.ม.
2. โขลกกระเทียม รากผักชี พริกไทยให้ละเอียด เคล้ากับเนื้อให้เข้ากัน เติมน้ำปลา เหล้าขาว น้ำมันหอย น้ำตาลทราย ผงกะหรี่ หมักประมาณช.ม. แล้วตากแดด 1 วัน
3. ทอดเนื้อ ในน้ำมันร้อน พอสุกตักให้สะเด็ดน้ำมัน รับประทานกับซอสพริก


ข้าวเหนียว+ส้มตำ+ไก่ย่าง




                                                                ปลาซิวหมกหม้อ


รับประทานพร้อมกับข้าวเหนียวร้อนๆและถ้าจะให้อร่อยเพิ่มมากขึ้นต้องกินคุ่กับแจ่วบอง


แกงหน่อไม้ส้ม

เสิร์ฟพร้อมกับข้าวเหนียวร้อนๆเข้ากันได้ดีมาก และอร่อยที่สุดเลยค่ะ


ซุปหน่อไม้


วิธีทำ
  • เผาหน่อไม้รวกแล้วขูดเป็นเส้น
  • โขลกใบย่านาง คั้นเอาแต่น้ำใบย่านางด้วยผ้าขาวบาง
  • ใส่น้ำในหม้อ ใส่น้ำใบย่านาง ต้มให้เดือด ใส่หน่อไม้ต้มให้เดือดอีกครั้ง เติมน้ำปลาร้า เกลือ น้ำปลา
  • ตักซุบหน่อไม้ใส่ถ้วย ปรุงรสด้วยน้ำมะนาว และพริกป่น เคล้าให้เข้ากัน
  • ซุปหน่อไม้ใส่จาน โรยงาคั่ว ผักชีฝรั่ง ต้นหอม ใบสะระแหน่ รับประทานกับผักสด

ส้มตำไทย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น