อาหารไทยภาคกลาง
ภาคกลาง
อาหารท้องถิ่นไทยภาคกลาง ภาคกลางมีพื้นที่ภูมิประเทศอยู่ที่ราบลุ่มมีฤดู ๓ ฤดู มีพืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ การทำมาหากิน ทำอาชีพในการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ทุกครัวเรือนทำอาหารรับประทานเอง สำหรับขนมจะได้รับประทานในวันเทศกาลเท่านั้น กอปรกับภาคกลางเป็นที่ตั้งเมืองหลวง ข้าราชบริพารนิยมนำลูกหลานเข้าไปอยู่ในวังหลวง เพื่อฝึกอบรมงานบ้านงานเรือน และเมื่อท่านพวกนี้ออกจากวังก็มาเผยแพร่อาหารแบบต่างๆ พร้อมการจัดอย่างสวยงาม อาจเพื่อเป็นของฝากของกำนัล หรือเพื่อขายความอร่อย ความสวยงามติดปากติดตาประชาชนมาจนถึงทุกวันนี้ เช่น อาหารใดที่อร่อยก็จะมีชื่อคำว่าชาววังตามมาข้างหลัง เช่น ข้าวแช่ชาววัง จากเหตุนี้ชาวท้องถิ่นภาคกลางก็จะจำแบบอย่างอาหาร ขนม มาปรับปรุงตามแบบชาววังบ้างจนเป็นแบบอย่างที่ดีมาจนถึงทุกวันนี้
อาหาร คือ สิ่งที่เรารับประทานเข้าไปแล้วมีประโยชน์ต่อร่างกาย ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต มีกำลังงาน มีความอบอุ่น สามารถต้านทานโรคได้
ภาคกลาง หมายถึง ภาคที่มีพื้นภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำผ่านหลายสาย มีจังหวัดถึง ๒๒ จังหวัด กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี นครปฐม ชัยนาท เพชรบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และประจวบคีรีขันธ์
อาหารท้องถิ่นภาคกลาง หมายถึง อาหารที่ชาวภาภกลางชอบรับประทานจนเป็นประเพณี มีรูปลักษณะ รสชาติที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นแตกต่างไปจากอาหารท้องถิ่นภาคอื่นๆของไทย
ความสำคัญ อาหารท้องถิ่นภาคกลาง นอกจากเป็นที่นิยมของชาวไทยภาคกลางแล้ว ชนต่างถิ่นที่มาเยือนรวมถึงชาวต่างชาติจำนวนไม่น้อยที่ชื่นชอบเพราะรสฃาติอร่อย ให้คุณค่าอาหารสูงมีธาตุและสารอาหารจากเครื่องปรุง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมุนไพรและเครื่องเทศที่ให้สรรพคุณเป็นยาป้องกันและบำบัดโรค
- ลักษณะของอาหารท้องถิ่นไทยภาคกลาง
๑. รสชาติ อาหารท้องถิ่นไทยภาคกลาง โดยทั่วไปมีสามรส เปรี้ยว เค็ม หวาน บางชนิดมีเผ็ด มัน ขม เมื่อปรุงเสร็จจะได้รสกลมกล่อม
๒.รูปร่างลักษณะของอาหารภาคกลาง เป็นภาคที่อุดมสมบูรณ์ ประชาการจะอยู่อย่างมีความสุข กอปรกับภาคกลางเป็นที่ตั้งของเมืองหลวง ในวังหลวงมีการประดิษฐ์ประดอย จัดแต่งอาหารและวัสดุที่ประกอบอาหารสวยงาม เมื่อปรุงเสร็จอาหารก็จะน่ารับประทาน
๓. กลิ่นและสี อาหารท้องถิ่นไทยภาคกลาง กลิ่นนั้นจะหอมน่ารับประทาน เช่น แกงเผ็ด แกงส้ม ก็จะหอมกลิ่นพริกเป็นหอมฉุน ถ้าเป็นขนมก็กลิ่นจะหอมหวาน
๔. เครื่องเคียง เครื่องเคียง หมายถึง อาหารที่รับประทานคู่กับอาหารอีกอย่างหนึ่ง เช่น ขนมจียน้ำพริก มีเครื่องเคียงมากมาย ทั้งผักสด ผักทอด ทอดมัน เป็นต้น
ลักลักษณะเฉพาะของอาหารภาคกลาง ลักษณะเฉพาะของอาหารพื้นเมืองภาคกลางที่นับว่าเป็นลักษณะเด่นของผู้พบเห็นและรับประทาน มีลักษณะดังนี้
เป็นอาหารที่มีการประดิษฐ์ ตกแต่งสวยงาม วิจิตรบรรจง เช่น ประเภทผัก เครื่องจิ้ม จะมีการจัด แกะสลัก หรือจัดตกแต่งเป็นภาชนะสิ่งของเครื่องใช้
อาหารภาคกลางที่ขึ้นชื่อ
ขึ้นชื่อเรื่องความกลมกล่อมและหลากหลายของรสชาติ ที่มีรส เปรี้ยว หวาน มัน เค็มและเผ็ด ผสมผสานกันอย่างลงตัวในทุก ๆ เมนู อาหารไทยได้รับความนิยมไปทั่วโลก ด้วยรสชาติที่ครบรส และถูกปากผู้คนทุกเชื้อชาติ อาหารที่ได้รับความนิยมของภาคกลางมีมากมาย โดยขอแนะนำ 4 เมนูที่ไม่ควรพลาด ได้แก่
ต้มยำกุ้ง เมนูขึ้นชื่อ เป็นที่รู้จักในฐานะตัวแทนอาหารไทย ด้วยรสชาติเข้มข้นของน้ำซุป มีรสเปรี้ยวเผ็ดกลมกล่อม หอมกลิ่นสมุนไพรไทย จนเป็นเอกลักษณ์ บวกกับความมันของกุ้งแม่น้ำตัวโต และความหอมของน้ำพริกเผา รสชาติของต้มยำกุ้งจึงเป็นที่ถูกใจของคนทุกชาติที่ได้ลิ้มลอง
แกงเขียวหวาน เป็นแกงเผ็ดที่มีรสชาติมันกลมกล่อม จากน้ำกะทิผัดกับน้ำพริกเขียวหวาน จนได้กลิ่นหอม น้ำแกงมีสีเขียวอ่อนที่เป็นเอกลักษณ์ แกงได้กับทั้งกับเนื้อวัว เนื้อไก่หรือเนื้อหมู กินพร้อมกับข้าวเปล่าหรือขนมจีนก็เข้ากันได้ดี
มัสมั่น เมนูเครื่องแกงรสชาติเข้มข้นของชาวมุสลิม ได้ความหอมจากเครื่องเทศและความมันของน้ำกะทิ ปรุงรสกลมกล่อม เคี่ยวจนซึมเข้าน่องไก่ กินกับมันฝรั่งชิ้นโตเนื้อนิ่ม หวานมันไปทั้งชิ้น
ขนมจีนซาวน้ำ ให้รสชาติเข้มข้น หวาน มัน จากน้ำกะทิ ผสานกับความหวานของน้ำตาลทราย และสับปะรดสับ และได้รสเค็ม ๆ มัน ๆ จากกุ้งแห้งป่น ซึ่งเข้ากันได้ดีกับขนมจีน กินแล้วให้ความรู้สึกสดชื่น เหมาะกับอากาศร้อนของประเทศไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น